วางรากฐานทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ความรู้ความเข้าใจในการทำงานและทัศนคติในการทำงาน สู่มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานีตั้งอยู่เลขที่ 219/2 ถนนอุดร-หนองคาย ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000 มีความเป็นมาในการก่อตั้งโรงเรียนดังนี้คือ ในปี พ.ศ. 2536 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้อนุมัติให้มีการจัดตั้ง ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานไปต่างประเทศ ในนามศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงานพัฒนาอาชีพ อุดรธานี ตามใบอนุญาตเลขที่ 061/2536 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 แต่ปรากฏว่า แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศยังขาดความรู้ ความสามารถ ไม่สามารถผ่านกาทดสอบมาตรฐานฝีมือโรความสามารถด้านช่างอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้น จึงได้มีการเตรียมการที่จะขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกสอนอาชีพระยะสั้นเพื่อยกระดับความรู้ความสามารถของแรงงานขึ้น

ต่อมาจึงได้เสนอขออนุมัติการจัดตั้งโรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี และได้รับใบอนุญาตเลขที่ อด. 3/2537 ให้จัดตั้งโรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี เมื่อวันที่ 30 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพุทธศักราช 2525 ประเภทโรงเรียนอาชีวศึกษา มาตรา15(2) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2548 โรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี ได้รับอนุญาตจาก กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมให้เปิดสอนหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมแรงงานไทย ก่อนไปทำงานประเทศสาธารณรัฐเกาหลี โดยเปิดสอนหลักสูตรภาษาเกาหลีให้คนงานก่อนเดินทางไปทำงานประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ใช้หลักสูตรของกรมการจัดหางานเป็นแห่งแรกในจังหวัดอุดรธานี

โรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี

Regulation

ระเบียบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพัฒนาอาชีพอุดรธานี


หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรื่องการจัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลี
1. ให้มีการจัดการเรียนภาษาเกาหลีตามเนื้อหาวิชาที่ทางกระทรวงแรงงานกำหนดโดยใช้เวลาในการเรียน จำนวน 45 ชั่วโมง
2. ในการสอนภาษาเกาหลีให้มีครูผู้สอนเป็นคนไทย 6 คน และมีครูผู้สอนเป็นคนเกาหลี 1คน โดยให้แบ่งเวลาตามที่เหมาะสม
3. เนื้อหาวิชาภาษาเกาหลีต้องสอนให้นักเรียนสามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด โดยครูผู้สอนเป็นผู้พิจารณาให้สอดคล้องกับบทเรียน
4. เมื่อครบหลักสูตร นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อไปทำงานที่ประเทศเกาหลี
5. เมื่อสอนครบ 45 ชั่วโมง ให้มีการวัดผลประเมินผล ตามเกณฑ์ที่กระทรวงแรงงานกำหนด คือ 60 เปอร์เซ็นต์ จึงสามารถออกใบประกาศนียบัตรแก่นักเรียน
หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องประสิทธิภาพของครูผู้สอน
1. ครูผู้สอนต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาภาษาเกาหลี
2. ครูผู้สอนต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี
3. ครูผู้สอนมีความชำนาญในการถ่ายทอดภาษาเกาหลี ให้แก่นักเรียน และสามารถอธิบาย ตอบปัญหา ได้อย่างชัดเจน
4. ครูผู้สอนต้องเป็นผู้ถ่ายทอดภาษาเกาหลีโดยไม่หวงความรู้
5. ครูผู้สอนต้องมีความเมตตากรุณาต่อนักเรียนและสามารถเข้าใจนักเรียนได้เป็นอย่างดี
หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องการให้คำแนะนำของครูที่ปรึกษา
1. ครูที่ปรึกษาต้องรับผิดชอบนักเรียนที่ทางโรงเรียนกำหนดให้
2. ครูที่ปรึกษาต้องเป็นที่ปรึกษาของนักเรียนได้ตลอดเวลา
3. ครูที่ปรึกษาต้องมีส่วนร่วมกับนักเรียนต่อกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นได้เป็นอย่างดี
4. ครูที่ปรึกษาต้องมีความเมตตากรุณาต่อนักเรียน
5. ครูที่ปรึกษาต้องคอยให้คำปรึกษาแก่นักเรียนเมื่อเกิดปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นได้
6. ครูที่ปรึกษาต้องไม่ลำเอียงว่านักเรียนที่เข้ามาปรึกษาปัญหานั้น จะอยู่ในสถานะใด เพศใด และให้ความเป็นธรรม ความเป็นกันเอง แก่นักเรียนทุกคน

หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องสถานที่การเรียนการสอน
1. ต้องมีห้องเรียนเพียงพอต่อการเรียนการสอน
2. ห้องเรียนมีเครื่องอำนวยความสะดวกต่อการเรียนการสอน
3. หอพักของนักเรียนมีความสะอาด และสะดวกสบายต่อการเรียนการสอน
4. บรรยากาศรอบๆหอพักต้องมีบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนการสอน
5. ห้องน้ำภายในโรงเรียนเพียงพอต่อการใช้บริการของนักเรียน
6. ห้องน้ำต้องสะอาด สะดวก สบาย ต่อการใช้บริการของนักเรียน
7. มีมุมอ่านหนังสือที่เพียงพอต่อการเรียนการสอน
8. โรงอาหารต้องสะอาด สะดวก ต่อการใช้บริการของนักเรียน

เรียนเพื่อทำงาน เกาหลีในระบบ EPS